วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความหมายและความสำคัญของสุขภาพจิต



. . สุ ข ภ า พ ก า ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ จิ ต . . .


ในอดีตคำว่าสุขภาพคือสุขภาพกายเป็นหลักในเวลาต่อมาจึงได้กล่าวถึงสุขภาพจิตร่วมไปด้วยเพราะคนที่มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรงต้องหมายถึงคนที่มีสุขภาพจิตที่ดีด้วยเพราะสุขภาพจิตเสื่อมโทรม หรือ เป็นโรคจิต ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตเป็นปกติสุขได้ และอาจจะทำร้ายผู้อื่นได้อีกด้วย
สุขภาพกาย หมายถึง ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายโดยปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ และสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติสุข
สุขภาพจิต หมายถึง ภาวะความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่มีข้อขัดแย้งในใจ



. .ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต. .

สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นเด็กที่มีความบกพร่องทางกาย เช่น หูตึง หรือสายตาสั้น อาจได้รับความลำบากในการปรับตัว เด็กที่มีโรคประจำตัวบางอย่างมักมีอารมณ์หงุดหงิด ทำตัวให้เข้า กับเพื่อนฝูงได้ยาก เด็กประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ มิฉะนั้นสุขภาพจิตของเด็กก็มีหวังเสื่อมทรามลงไปได้มาก ๆ คนที่ขาดสุขภาพจิตมักมีสุขภาพกายเสื่อมลงไปด้วย เด็กที่เสียสุขภาพจิต ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาก็มักเจ็บป่วยมาก กล่าวคือ เด็กจะเสียกำลังใจและตีโพย ตีพายไปเกินกว่าเหตุ อาการเจ็บป่วยธรรมดาอาจเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น กำลังใจของคนไข้เป็นส่วนประกอบอันสำคัญในการที่จะรักษาโรคให้ได้ผล ถ้าคนไข้เป็นคนขาดสุขภาพจิตแล้วก็จะทำให้การรักษาโรคลำบากยิ่งขึ้น ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดถ้าร่างกาย เกิดผิดปกติก็จะทำให้จิตใจผิดปกติไปไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคล และสิ่งแวดล้อมด้วย ในทางกลับกัน ถ้าสุขภาพจิตไม่ดีก็จะมีผลให้ สุขภาพกายเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดโรคทางกายได้ ผู้ที่มีอารมณ์หวั่นไหว วิตกกังวล หรือเครียด อาจจะมีอาการท้องเดิน เมื่อเกิดความกลัวก็อาจจะมีอาการปวดศีรษะ หรือเกิดอารมณ์ทางกายอื่น ๆ เมื่อเราตื่นเต้นตกใจก็จะทำให้การหายใจเร็วขึ้น ตัวสั่น เป็นต้น ดังนั้น การที่คนเราจะมีร่างกายที่สมบูรณ์ได้ก็ควรจะต้องมีอารมณ์อยู่ในภาวะ ที่สมบูรณ์ด้วย จากความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดของร่างกายและจิตใจนี้ จึงมีผู้กล่าวว่า จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง