วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สุขภาพดีคือแบบไหน

ส่วนที่จะให้แสดง

ส่วนที่เหลือ

สุขภาพดีคืออะไร

สุขภาพที่ดีหมายความว่า องค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ [WHO] ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับสุขภาพไว้ว่า สุขภาพดีคือการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสวัสดิภาพทางสังคม อยู่ในสภาพดี ไม่ได้หมายความเพียงว่า ไม่มีการเจ็บป่วยหรือไม่มีทุกข์กังวลกับการเจ็บป่วยเท่านั้น ในทางการแพทย์ คำว่า สุขภาพดีไม่มีกำหนดค่าที่แน่นอนตายตัวขึ้นอยู่กับสภาพความเหมาะสม ของแต่ละคน ไม่อาจใช้หลักเกณฑ์เดียวกันในการวัดค่าต่างๆ เช่น ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือดได้กับทุกคน
การปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพที่ดี ดังนี้
1.ตื่นนอนในตอนเช้าอย่างสดชื่น การตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นในตอนเช้าเป็นการพิสูจน์ว่าได้ใช้ชีวิตอย่างถูกต้องตามกฏเกณฑ์ และเมื่อตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ก์พร้อมที่จะทำกิจกรรมในวันนั้นๆได้เป็นอย่างดี
2.กินอาหารอย่างเอร็ดอร่อย การกินอาหารได้อร่อยนั้นสำคัญมาก แสดงว่าอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารอยู่ในสภาพแข็งแรงและตัวเราไม่มีความทุกข์กังวลหรือความเครียดอยู่ในจิตใจ
3.ขับถ่ายเป็นเวลา การอุจจาระเป็นเวลาและถ่ายปัสสาวะได้อย่างสบาย บ่งบอกว่าตับและไตของเราอยู่ในสภาพแข็งแรง กระเพาะอาหารและลำไส้เป็นอวัยวะที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนของจิตใจ ถ้ากระเพาะอาหารและลำไส้แข็งแรง แสดงว่าจิตใจมีสุขภาพดีด้วย
4.มีสมาธิในการเรียนและการทำงาน ทั้งการเรียนและการทำงานจำเป็นต้องใช้การทำงานของสมองพละกำลังทางร่างกายและสมาธิรวมกัน การเรียนและการทำงานเป็นการปฏิบัติกิจที่สำคัญต่อตัวเอง ถ้าสามารถทำได้อย่างมีสมาธิ แสดงว่ามีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
5.มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว เพื่อนฝูง ครูอาจารย์ คนใกล้ชิด เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับสุขภาพจิต การทะเลาะเบาะแว้งกันบางครั้งอาจทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่สบายใจ ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ ความสัมพันธ์เหล่านี้ดำเนินไปด้วยดีคือ การมีสุขภาพที่ดีนั่นเอง

คลิกเพื่ออ่านต่อ...

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มนุษย์สัมพันธ์สร้างสุข


มนุษย์สัมพันธ์สร้างสุข

คลิกเพื่ออ่านต่อ...

ชีวิตที่สุขใจ



ชีวิตที่สุขใจ

คลิกเพื่ออ่านต่อ...

สร้างสุขคลายเครียด


คลิกเพื่ออ่านต่อ...

"สุขภาพกายและสุขภาพจิต"



....เมื่อกล่าวถึงสุขภาพ ย่อมหมายถึง สุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมกัน ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี คือ ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เจริญเติบโตสมกับวัย ไม่พิการ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีจิตใจเป็นปกติ อารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข สุขภาพจิตเป็นเสมือนเข็มทิศชีวิตที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของเรา พัฒนาไปได้อย่างมีทิศทางมีหลักเกณฑ์ในการปรับตัวเองให้อยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุขและทำให้ผู้อื่นเป็นสุขด้วย


คลิกเพื่ออ่านต่อ...

ความหมายและความสำคัญของสุขภาพจิต



. . สุ ข ภ า พ ก า ย แ ล ะ สุ ข ภ า พ จิ ต . . .


ในอดีตคำว่าสุขภาพคือสุขภาพกายเป็นหลักในเวลาต่อมาจึงได้กล่าวถึงสุขภาพจิตร่วมไปด้วยเพราะคนที่มีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรงต้องหมายถึงคนที่มีสุขภาพจิตที่ดีด้วยเพราะสุขภาพจิตเสื่อมโทรม หรือ เป็นโรคจิต ก็ไม่สามารถใช้ชีวิตเป็นปกติสุขได้ และอาจจะทำร้ายผู้อื่นได้อีกด้วย
สุขภาพกาย หมายถึง ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายโดยปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ และสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติสุข
สุขภาพจิต หมายถึง ภาวะความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่มีข้อขัดแย้งในใจ



. .ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต. .

สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นเด็กที่มีความบกพร่องทางกาย เช่น หูตึง หรือสายตาสั้น อาจได้รับความลำบากในการปรับตัว เด็กที่มีโรคประจำตัวบางอย่างมักมีอารมณ์หงุดหงิด ทำตัวให้เข้า กับเพื่อนฝูงได้ยาก เด็กประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ มิฉะนั้นสุขภาพจิตของเด็กก็มีหวังเสื่อมทรามลงไปได้มาก ๆ คนที่ขาดสุขภาพจิตมักมีสุขภาพกายเสื่อมลงไปด้วย เด็กที่เสียสุขภาพจิต ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาก็มักเจ็บป่วยมาก กล่าวคือ เด็กจะเสียกำลังใจและตีโพย ตีพายไปเกินกว่าเหตุ อาการเจ็บป่วยธรรมดาอาจเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น กำลังใจของคนไข้เป็นส่วนประกอบอันสำคัญในการที่จะรักษาโรคให้ได้ผล ถ้าคนไข้เป็นคนขาดสุขภาพจิตแล้วก็จะทำให้การรักษาโรคลำบากยิ่งขึ้น ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดถ้าร่างกาย เกิดผิดปกติก็จะทำให้จิตใจผิดปกติไปไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคล และสิ่งแวดล้อมด้วย ในทางกลับกัน ถ้าสุขภาพจิตไม่ดีก็จะมีผลให้ สุขภาพกายเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดโรคทางกายได้ ผู้ที่มีอารมณ์หวั่นไหว วิตกกังวล หรือเครียด อาจจะมีอาการท้องเดิน เมื่อเกิดความกลัวก็อาจจะมีอาการปวดศีรษะ หรือเกิดอารมณ์ทางกายอื่น ๆ เมื่อเราตื่นเต้นตกใจก็จะทำให้การหายใจเร็วขึ้น ตัวสั่น เป็นต้น ดังนั้น การที่คนเราจะมีร่างกายที่สมบูรณ์ได้ก็ควรจะต้องมีอารมณ์อยู่ในภาวะ ที่สมบูรณ์ด้วย จากความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดของร่างกายและจิตใจนี้ จึงมีผู้กล่าวว่า จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์...

คลิกเพื่ออ่านต่อ...